ความสำคัญของการศึกษา
และครู ในการสร้างสันติสุขในสังคมไทย
ความสำคัญของการศึกษา
การศึกษามีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก
คำกล่าวที่ว่าการศึกษาคือชีวิต และชีวิตคือการศึกษา
คำกล่าวเช่นนี้ยังคงเป็นความจริงอยู่ตลอดไป
ชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดาเริ่มมีการศึกษาบ้างแล้ว
การศึกษาของมนุษย์จะเริ่มอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อชีวิตได้เริ่มลืมตาดูโลก
และจะต้องศึกษาอยู่ตลอดไปจนกว่าชีวิตจะจากโลกนี้ไป การศึกษาจึงมีความสำคัญต่อบุคคล
สังคม ประเทศชาติ และต่อโลกเป็นอย่างยิ่ง อาจจะกล่าวได้ว่า “ตราบใดที่โลกยังมีมนุษย์ไม่สิ้นสุดการศึกษาต้องอาศัย”
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ที่อาศัยโลกอยู่จะต้องอาศัยกระบวนการทางการศึกษาสำหรับการพัฒนาตน
เมื่อสมาชิกของสังคมได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพแล้ว
สังคมและประเทศชาติรวมทั้งโลกด้วยก็จะได้รับการพัฒนาต่อไปด้วย
ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาคนให้เป็นผู้มีชีวิตที่ดีงาม
สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและเกื้อกูลแก่สังคม
การศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้เจริญขึ้น มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนาจะต้องอาศัยตัณหามานำชีวิตให้ดิ้นรน
เพื่อสนองความต้องการทางด้าน ตา หู จมูก ลิ้น และกาย หรืออายตนะทั้งหลาย เพราะมนุษย์ยังมีอวิชชา
ไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่ใช่ประโยชน์อย่างแท้จริง
จึงยังต้องเอาความรู้สึกชอบไม่ชอบ เกลียด กลัว หรือปรารถนา มาเป็นเครื่องนำชีวิตก่อน
เมื่อมองดูเห็นอะไรสนองความรู้สึกที่ดีที่สบายให้ความสุขทาง หู ตา จมูก
ลิ้น กาย ก็พอใจ ต้องการได้สิ่งเหล่านี้ มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนาจึงอยู่ด้วยตัณหา
แต่เมื่อมนุษย์มีปัญญาพอแล้วก็จะอยู่ด้วยสติปัญญา ดังเช่น
การเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตจากการกินอยู่เพียงเพื่ออร่อยลิ้นและโก้หรู
มาสู่การกินพอดีด้วยปัญญา
หรือเสริมคุณภาพชีวิตให้มีสุขภาพและสามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามอย่างผาสุกอันเรียกว่าโภชเนมัตตัญญุตา
การที่มนุษย์อยู่ดีด้วยปัญญา
เป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จของการศึกษา
เพราะการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา
ไม่ต้องอาศัยตัณหามาชักจูง การศึกษาในพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ ๓ ประการ ในชีวิตนี้อย่างแท้จริง คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันที่ประกอบไปด้วยกามสุข ประโยชน์ในภพหน้าที่สูงขึ้นไปคือสูงกว่าประโยชน์ในภพนี้
และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน
พระพุทธศาสนากับการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน
เพราะพระพุทธศาสนามีระบบการศึกษาที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
ในฐานะที่เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีคุณภาพเหมาะสมและมีคุณสมบุติสอดคล้องกับความต้องการในการใช้กำลังของประเทศ
การศึกษาจึงหมายถึง การเจริญงอกงาม
เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลให้มีความเจริญงอกงามทุกด้าน คือ สติปัญญา
อารมณ์และสังคม ถ้าประเทศใดประชากรมีการศึกษาสูง ประเทศนั้นก็จะมีกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มรายได้ต่อบุคคลให้สูงขึ้น
การจัดการศึกษาที่ดีจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ทั้งนี้เพราะว่าเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิด ความรู้สึก
บุคลิกภาพ ความสนใจ และความถนัด ดังนั้นการศึกษามิได้ขึ้นอยู่กับความสามารถทางด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียว
แต่ยังเกี่ยวข้องกับความถนัดทางการเรียนของแต่ละบุคคล รวมทั้งองค์ประกอบที่ไม่เกี่ยวข้องกับสติปัญญาด้วย
เช่น สถานภาพทางสังคม บุคลิกภาพ ความสนใจ และพฤติกรรมต่างๆที่แสดงออก
อันเนื่องมาจากความนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อเจตคติ ความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจในสิ่งต่างๆตลอดจนการปรับตัวและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ในทางศาสนาอิสลาม ความรู้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับทุกๆคน
เพราะถ้าใครมีความรู้มาก..ก็จะได้เปรียบในทุกๆเรื่อง
เราจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นวิชาทางด้านสามัญ หรือ
ในวิชาการทางด้านศาสนา
ความรู้ในด้านสามัญนั้นมีมากมายหลายแขนงซึ่งวิชาต่างๆเหล่านี้จะทำให้เท่าทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองและเท่าทันกับสิ่งที่โลกได้มีการพัฒนาไป
และคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากต่อวิชาการทางด้านสามัญ
ความรู้และสิ่งต่างๆเหล่านี้มันจะทำให้เรานี้มีเกียรติยศ มีคนนับหน้าถือตา
เป็นที่รู้จักกันในสังคมนั้นๆ และเมื่อเรามีอำนาจมีพวกพ้องมากมาย
ความโลภก็จะเข้ามาครอบงำ ทำให้อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้
และก็จะเอามันมาด้วยกับการเอาเปรียบผู้อื่นที่มีความรู้น้องกว่า มันจึงทำให้สังคมมีแต่จะแย่ลงไปทุกที
ดังนั้นผู้ที่มีความรู้
ควรที่จะต้องมีคุณธรรมด้วยและสิ่งสำคัญคือต้องมีความเที่ยงตรงในทุกๆเรื่อง
แต่ความรู้ในด้านสามัญจะช่วยเราได้แค่โลกดุนยานี้เท่านั้น
ถ้าคนๆนั้นยังขาดวิชาความรู้ทางด้านศาสนาอยู่ และมันจะมีความหมายอะไรกับบรรดามุสลิม
ความสำคัญของครู
แน่นอนในเมื่อการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น
สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการศึกษานั่นคือ ครู ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ครูย่อมมีความสำคัญต่อสังคม ประเทศชาติและแม้แต่โลกกล่าวคือ ตราบใดที่สังคมมนุษย์ยังสามารถผลิตสมาชิกใหม่ให้สังคม ความต้องการครูก็จะยังมีอยู่ตลอดไปมีข้อจำกัดอยู่แต่เพียงในเรื่องจำนวนและความสามารถของครูในด้านต่างๆทั้งนี้เพราะปัจจุบันโลกได้พัฒนาไปมากเช่นเดียวกัน
ดังนั้นความต้องการใช้ครูจึงต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมด้วย
ไม่ว่าครูจะมีความรู้ความสามารถหรือความถนัดแตกต่างกันเพียงใด
แต่บทบาทของครูโดยส่วนรวมแล้ว จะยังอยู่ในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ
นอกจากครูจะต้องรักบทบาทเป็นผู้สอนคนให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการต่างๆ
แล้ว ครูยังจะต้องรับบทบาทในการพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆอีก เช่นการพัฒนาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ
ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น ดังนั้น ครูจึงต้องรับบทหนักทั้งในอดีตและปัจจุบัน
และเป็นบทบาทในการสร้างสังคมในด้านต่างๆให้มีความเจริญก้าวหน้า
จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีผู้ให้สมญานามแก่ครูว่าเป็น วิศวกรสังคม ซึ่งหมายถึง ช่างผู้ชำนาญในการสร้างสังคมนั่นคือ หากครูให้การศึกษาแก่สมาชิกแก่สังคมอย่างไรสังคมก็จะเป็นอย่างนั้น
เช่น ให้การศึกษาเรื่องระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง สังคมก็จะเป็นประชาธิปไตย หากครูให้การศึกษาในระบอบอื่นสังคมก็จะเป็นเช่นนั้นด้วย
“ดังนั้นครูและการศึกษาเป็นสิ่งคู่กันที่ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้”
กล่าวคือ การศึกษาและครู เป็นองค์ประกอบร่วมกัน ที่ใดมีการศึกษา ที่นั่นจะต้องมีครู หรือ
เมื่อมีครูก็ต้องมีการให้การศึกษา ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า กระบวนการให้การศึกษานั้น
จะปราศจากบุคคลที่เป็นครูไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน เมื่อมีบุคคลที่มีสถานภาพของความเป็นครูอยู่ในสังคม กระบวนการให้การศึกษาก็ต้องเกิดขึ้น
ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะของการศึกษาในและนอกระบบ
หรือการศึกษาตามอัธยาศัยก็สุดแล้วแต่ความต้องการ
ส่วนกระบวนการให้การศึกษานั้นอาจมีครูเป็นศูนย์กลางหรือยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางย่อมขึ้นอยู่กับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของวิชาการนั้นๆ เนื่องจากกระบวนการให้การศึกษาจะปราศจากบุคคลที่เป็นครูไม่ได้
ดั้งนั้น เมื่อกล่าวถึงบทบาทของการศึกษา
จึงจำเป็นต้องกล่าวถึงบทบาทครูควบคู่ไปด้วยเสมอ ด้วยเหตุนี้ ในที่นี้จึงใช้คำว่า “บทบาทของการศึกษาและครู ควบกันเสมอ” ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการสร้างสันติภาพ การศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างสันติภาพและสันติสุข
การให้การศึกษาแก่บุคคลที่ถูกต้องจะก่อให้เกิดสันติภาพและสันติสุข
ทั้งในระดับบุคคล ระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ระดับโครงสร้างของสังคมและระดับนานาชาติสันติภาพและสันติสุขระดับบุคคลจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีกระบวนการศึกษาที่ดี
โดยเน้นให้บุคคลได้รู้จักตนและเข้าใจความต้องการอันแท้จริงของตนเอง
ส่วนสันติภาพและสันติสุขระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น
กระบวนการให้การศึกษาจะต้องเน้นความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน ความเข้าใจกัน
การยอมรับความรู้ความสามารถของกันและกันไม่ดูถูกภูมิปัญญาของผู้อื่นทุกคนมีเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง
สรุป
บทบาทของการศึกษาและครูในการสร้างสันติภาพ แม้ว่ากระแสโลกาภิวัตถ์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคของโลกและเกิดการแข่งขันในทุกด้าน
ระบบการศึกษาจะช่วยมุ่งพัฒนาให้สมดุลในด้านปัญญา จิตใจ และสังคม ทั้งในด้านความคิด
ค่านิยม และพฤติกรรม ซึ่งต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคคล ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ ดังนั้นจำเป็นต้องพัฒนาครูให้ทันกับโลกในยุคปัจจุบัน คือ ครู
ต้องมีความรู้ ประสบการณ์ และก้าวทันสถานการณ์โลก
ด้วยเหตุนี้บทบาทของการศึกษาซึ่งมีส่วนที่จะสร้างสันติสุขให้แก่คนในชาติคือ
1. การศึกษาช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข
รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตน และชุมชน
รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สามารถนำข้อคิด ข้อปฏิบัติจากศาสนาที่ตนนับถือมาใช้ในการดำเนินชีวิต
2. การศึกษาช่วยอบรมบ่มนิสัยคนให้เป็นคนที่ขยันอดทนมีระเบียบวินัย
และเป็นพลเมืองดีของชาติ สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคมได้ รู้จักพึงตนเอง
ปรับปรุงความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวให้ดีขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ
3.การศึกษาช่วยให้เกิดความสำนึกเห็นประโยชน์และคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
สาธารณสมบัติ
4. การศึกษาช่วยดำรงค่านิยม
เจตคติ และดำรงรูปแบบของสังคม และวิถีการปกครองบ้านเมือง
5. การศึกษาช่วยให้เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้า
ส่งผลให้ประเทศมีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจมั่นคง
6. การศึกษาให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ
และฝึกอบรม เพื่อนำไปสู่การเลี้ยงชีพตนเอง
สรุปได้ว่า
การศึกษามีบทบาทที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนาคน พัฒนาชาติ การศึกษาจึงเป็นกระบวนการสร้างคนในประเทศให้มีกำลังมีความสามารถที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างมีสันติสุข บทบาทของครูในการสร้างสันติภาพ
1. พัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่มีปัญญาสูงขึ้น
มีความรอบรู้ในสรรพวิทยาการต่างๆ
2. จัดสร้างสถานการณ์ต่างๆ
ที่เอื้ออำนวยการให้นักเรียนรู้จักคิด มีเหตุมีผล
3. พยายามปลูกฝังลักษณะนิสัยสำคัญๆ
ให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน เช่น ความตรงต่อเวลา ความขยันหมั่นเพียร ความอดทน
4. การปลูกฝังค่านิยมและมโนทัศน์ที่ถูกต้องให้กับนักเรียน
5. การปลูกฝังการเป็นนักประชาธิปไตยให้แก่นักเรียน
6. การให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น
7. การปลูกฝังทางด้านอาชีพ ให้นักเรียนมีทักษะและทัศนะคติที่ดีต่อการอาชีพ
8. บทบาทในการปลูกฝังวัฒนธรรม
9. บทบาทในการพัฒนาสังคมเมื่อเข้าไปอยู่ในชุมชนใดๆก็ตาม
10. บทบาทในการแก้ไขปัญหาในชุมชนเมื่อพบว่าชุมชนนั้น